รายละเอียดการจัดทำและนำเสนอบทความ

รูปแบบการนำเสนอ

การนำเสนอแบบปากเปล่า
ผู้นำเสนอจัดทำไฟล์นำเสนอด้วยตนเองเป็นภาษาไทย และนำไฟล์นำเสนอมาให้แก่คณะกรรมการดำเนินงาน ภายในวันที่ 10 สิงหาคม 2567 เท่านั้น จะมีเวลานำเสนอ 20 นาที โดยเป็นการบรรยายไม่เกิน 15 นาที และถาม-ตอบ 5 นาที

การนำเสนอแบบโปสเตอร์
การนำเสนอแบบโปสเตอร์ผู้นำเสนอจะต้องจัดทำโปสเตอร์เป็นภาษาไทยตามรูปแบบที่กำหนด และให้มานำเสนอโปสเตอร์ในวันจัดประชุม และอยู่ประจำจุดโปสเตอร์ ก่อนประธานเยี่ยมชมนิทรรศการโปสเตอร์

รูปแบบโปสเตอร์

ขนาดโปสเตอร์
จัดทำโปสเตอร์ขนาด 80 x 120 ซม. (กว้าง x สูง). ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK และทำด้วยกระดาษโปสเตอร์ และจัดความสวยงามได้ตามความเหมาะสม

โปสเตอร์ ประกอบด้วย
ชื่อเรื่อง, คณะวิชา, มหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานที่สังกัด, ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา, วัตถุประสงค์ของการวิจัย , วิธีการดำเนินงานวิจัย , ผลการวิจัย , สรุปผลและอภิปรายผล และ รายการอ้างอิง

การติดตั้งโปสเตอร์
นำโปสเตอร์มาติดตั้งด้วยตนเองในวันที่ 28 สิงหาคม 2567 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป เท่านั้น หากไม่มาติดตั้งตามที่กำหนด มหาวิทยาลัยจะถือว่าท่านสละสิทธิ์

รูปแบบการเขียนบทความฉบับสมบูรณ์

1.จำนวนหน้าส่งบทความฉบับสมบูรณ์ หลังจากที่ได้รับการตอบการพิจารณาบทความแล้วทั้งแบบปากเปล่าและโปสเตอร์ มีความยาว 10-12 หน้า
2. อักษรภาษาอังกฤษรูปแบบอักษร TH Sarabun PSK
3. ขนาดอักษร
  • ชื่อเรื่องขนาด 18 พอยต์
  • เนื้อหาบทความ ขนาด 16 พอยต์
  • ชื่อผู้วิจัย และสังกัด ขนาด 14 พอยต์
4. การตั้งค่าหน้ากระดาษ
  • ขอบบน 1.0 นิ้ว หรือ 2.54 เซนติเมตร
  • ขอบล่าง 1.0 นิ้ว หรือ 2.54 เซนติเมตร
  • ขอบซ้าย 1.0 นิ้ว หรือ 2.54 เซนติเมตร
  • ขอบขวา 1.0 นิ้ว หรือ 2.54 เซนติเมตร
5. ส่วนประกอบของบทความส่วนหน้า (ไม่ควรเกิน 1 หน้าของ A4) ประกอบด้วย
  • ชื่อบทความ ไม่ควรเกิน 2 บรรทัด กระชับ ตรงกับเนื้อเรื่อง จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ
  • ชื่อผู้เขียน กำหนดชิดขวา ให้เขียนใต้ชื่อเรื่อง ไม่ต้องใส่คำนำหน้าชื่อ ใช้ตัวอักษรตัวแรกเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ และตามด้วยตัวพิมพ์เล็ก เช่น Nichanan Dongcharoen กรณีที่มีผู้เขียนมากกว่า 1 คน และต่างสังกัด ให้เขียนเลขยกกำกับ ขนาด 10 พอยต์ ต่อท้ายนามสกุล และใส่ asterisk (*) หลังนามสกุลของผู้ที่จะนำเสนอผลงาน
  • ชื่อหน่วยงาน หรือสังกัดของผู้เขียน กำหนดชิดขวา ในบรรทัดต่อมา กรณีมีผู้เขียน หลายคนและต่างสังกัดให้พิมพ์เลขยกกำกับด้านหน้าหน่วยงานตามลำดับผู้เขียน (กรณีที่ผู้เขียนอยู่สังกัดเดียวกันไม่ต้องเขียนเลขยกกำกับ)
6. บทคัดย่อ
  • เขียนบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีความยาวไม่น้อยกว่า 200 คำ และไม่เกิน 400 คำ ภาษาที่ใช้ควรถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
  • เนื้อหาบทคัดย่อ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์การวิจัย วิธีการวิจัย ผลการวิจัย และสรุปผลการวิจัย
7. คำสำคัญเขียนใต้บทคัดย่อ ควรกำหนด 3-5 คำ
8. ผู้รับผิดชอบบทความเขียนใต้คำสำคัญ เพียง 1 ท่าน ขนาดอักษร 10 พอยต์ ตัวเอียง โดยระบุ ชื่อ-สกุล คณะ มหาวิทยาลัย อีเมล์ และประเทศ
9. บทความประกอบด้วย
  • บทนำ
  • วัตถุประสงค์ของการวิจัย
  • สมมติฐานการวิจัย
  • วิธีดำเนินการวิจัย
  • ผลการวิจัย
  • การสรุปและอภิปรายผล
  • ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
10. การใส่รูปภาพใช้ข้อความว่า “ภาพที่…” ตามด้วยชื่อภาพ และที่มาของภาพ
นามสกุลภาพเป็น jpg และมีความละเอียดไม่ต่ำกว่า 300 x 300 dpi
11. การใส่ตารางใช้ข้อความว่า “ตารางที่…” ตามด้วยชื่อตาราง และอธิบายส่วนสำคัญตามเนื้อหาตามตาราง
12. การใส่แผนภูมิใช้ข้อความว่า “แผนภูมิที่…” ตามด้วยชื่อแผนภูมิ และอธิบายส่วนสำคัญตามเนื้อหาของแผนภูมิ
13. การเขียนเอกสารอ้างอิง
  • ใช้หัวข้อว่า บรรณานุกรม เรียงลำดับการเขียนเอกสารอ้างอิงตามแบบสากล APA ฉบับที่ 6(American Psychological Association)
  • รายการอ้างอิงให้ใส่เฉพาะที่อ้างอิงไว้ในเนื้อหาเท่านั้น
  • เขียนรายการอ้างอิงโดยใช้อักษร ขนาด 16 พอยต์